ผลสืบเนื่อง ของ วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907

วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907 เกิดระหว่างการหดตัวทางเศรษฐกิจเป็นเวลานาน ซึ่งกรมวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติวัดว่าเกิดระหว่างเดือนพฤษภาคม 1907 ถึงมิถุนายน 1908[58][59] การหดตัว ความตื่นตระหนกของธนาคารและตลาดหลักทรัพย์ที่ตกซึ่งมีความสัมพันธ์กันส่งผลให้เกิดการรบกวนทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ การผลิตอุตสาหกรรมลดลงมากกว่าการแห่ถอนเงินครั้งใดที่ผ่านมา ส่วนปี 1907 มีปริมาณการล้มละลายสูงสุดอันดับสองจนถึงเวลานั้น การผลิตลดลง 11% การนำเข้าลดลง 26% ส่วนการว่างงานเพิ่มขึ้นจากต่ำกว่า 3% เป็น 8% การเข้าเมืองลดลงจาก 1.2 ล้านคนในปี 1907 เหลือ 750,000 คนในปี 1909[60]

นับแต่สงครามกลางเมืองอเมริกาสิ้นสุด สหรัฐประสบความตื่นตระหนกที่มีความรุนแรงต่าง ๆ กัน นักเศรษฐศาสตร์ ชาลส์ คาโลมิริส (Charles Calomiris) และแกรี กอร์ตัน (Gary Gorton) จัดอันดับความตื่นตระหนกที่นำไปสู่การปิดธนาคาร (suspension) อย่างกว้างขวางร้ายแรงที่สุดดังนี้ วิกฤตการเงินปี 1873, 1893, และ 1907 และการปิดธนาคารในปี 1914 การปิดธนาคารอย่างกว้างขวางถูกป้องกันผ่านการกระทำประสานงานระหว่างวิกฤตปี 1884 และ 1890 สำหรับวิกฤตธนาคารในปี 1896 ซึ่งมีความจำเป็นประสานงานที่รับรู้ บ้างก็จัดเป็นวิกฤตการเงินด้วย[59]

ความถี่ของวิกฤตและความรุนแรงของวิกฤตปี 1907 เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับบทบาทใหญ่ผิดปกติของเจ. พี. มอร์แกน ซึ่งนำสู่แรงกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายเรื่องการปฏิรูประดับชาติรอบใหม่[61] ในเดือนพฤษภาคม 1908 รัฐสภาผ่านรัฐบัญญัติแอลดริช–วรีแลนด์ (Aldrich–Vreeland Act) ซึ่งตั้งคณะกรรมการการเงินแห่งชาติเพื่อสอบสวนวิกฤตการเงินและเสนอกฎหมายเพื่อวางระเบียบการธนาคาร[62] สมาชิกวุฒิสภาเนลสัน แอลดริช ประธานคณะกรรมการการเงินแห่งชาติ เดินทางไปทวีปยุโรปเกือบสองปีเพื่อศึกษาระบบการธนาคารที่นั่น

ธนาคารกลาง

ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างระบบการธนาคารของทวีปยุโรปและสหรัฐ คือ สหรัฐขาดธนาคารกลาง รัฐยุโรปสามารถขยายปริมาณเงินระหว่างช่วงเงินสดสำรองต่ำได้ ความเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอเมื่อปราศจากธนาคารกลางไม่ใช่ความเชื่อใหม่ ต้นปี 1907 นักธนาคาร เจคอบ ชิฟฟ์ (Jacob Schiff) แห่งคูน, โลบแอนด์โค. (Kuhn, Loeb & Co.) กล่าวสุนทรพจน์เตือนสภาหอการค้านิวยอร์กว่า "นอกเสียจากเรามีธนาคารที่มีการควบคุมทรัพยากรเครดิตเพียงพอ ประเทศนี้จะต้องประสบวิกฤตการเงินครั้งรุนแรงที่สุดและกว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์"[63]

แอลดริชจัดการประชุมลับกับนักการเงินชั้นนำของประเทศจำนวนหนึ่งที่เจคิลไอแลนด์คลับ นอกฝั่งรัฐจอร์เจีย เพื่ออภิปรายนโยบายการเงินและระบบการธนาคารในเดือนพฤศจิกายน 1910 แอลดริชและเอ. พี. แอนดริว (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง), พอล วาร์เบิร์ก (เป็นตัวแทนคูน, โลบแอนด์โค.), แฟรงก์ เอ. แวนเดอร์ลิบ (ผู้สืบทอดตำแหน่งธนาคารนครแห่งชาตินิวยอร์กจากเจมส์ สติลแมน), เฮนรี พี. เดวีสัน (ผู้เป็นหุ้นส่วนอาวุโสของบริษัทเจ. พี. มอร์แกน), ชาลส์ ดี. นอร์ตัน (ประธานธนาคารแห่งชาติแรกนิวยอร์ก) และเบนจามิน สตรอง (เป็นตัวแทนเจ. พี. มอร์แกน) ผลิตการออกแบบสำหรับ "ธนาคารสำรองแห่งชาติ"[64]

มีการจัดพิมพ์รายงานสุดท้ายของคณะกรรมการการเงินแห่งชาติเมื่อวันที่ 11 มกราคม 1911 สมาชิกสภานิติบัญญัติถกเถียงข้อเสนอเกือบสองปี รัฐสภาผ่านรัฐบัญญัติระบบธนาคารกลาง (Federal Reserve Act) ในวันที่ 23 ธันวาคม 1913 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันลงนามกฎหมายทันทีและมีการตรากฎหมายในวันเดียวกัน สถาปนาระบบธนาคารกลางสหรัฐ[65] ชาลส์ แฮมลินเป็นประธานระบบฯ คนแรก และเบนจามิน สตรอง รองประธานมอร์แกนเป็นประธานธนาคารกลางนิวยอร์ก ธนาคารภูมิภาคสำคัญที่สุดที่มีตำแหน่งถาวรในคณะกรรมการตลาดเสรีกลาง[65]

คณะกรรมการพูโจ

แม้มอร์แกนถูกมองเป็นวีรบุรุษช่วงสั้น ๆ แต่ความกลัวกว้างขวางเกี่ยวกับเศรษฐยาธิปไตยและการกระจุกความมั่งคั่งไม่นานก็ลบความเห็นนี้ ธนาคารของมอร์แกนรอด แต่บริษัททรัสต์ที่เป็นคู่แข่งกำลังเติบโตของธนาคารแบบเดิมได้รับความเสียหายหนัก นักวิเคราะห์บางส่วนเชื่อว่าวิกฤตนี้มีการวางแผนเพื่อสร้างความเสียหายต่อความเชื่อมั่นในบริษัททรัสต์เพื่อให้ธนาคารได้ประโยชน์[66][67] คนอื่นเชื่อว่ามอร์แกนฉวยประโยชน์จากวิกฤตนี้เพื่อให้บริษัทยูเอสสตีลของเขาเข้าซื้อทีซีแอนด์ไอ[68] แม้มอร์แกนเสียเงิน 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐในวิกฤต แต่ความสำคัญของบทบาทเขาที่ป้องกันภัยพิบัติเลวร้ายที่สุดก็ไม่อาจแย้งได้ เขายังเป็นความสนใจของการตรวจสอบและวิจารณ์อย่างเข้มข้นด้วย[55][69][70]

ประธานคณะกรรมาธิการการธนาคารและเงินตราของสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนราษฎรอาร์ซีน พูโจ (Arsène Pujo) จัดประชุมพิเศษเพื่อสอบสวน "การรวมกันผูกขาดเงิน" ซึ่งเป็นการผูกขาดโดยพฤตินัยของมอร์แกนและนายธนาคารทรงอำนาจที่สุดของรัฐนิวยอร์กคนอื่น ๆ คณะกรรมาธิการฯ ออกรายงานเสียดแทงว่าด้วยการค้าการธนาคาร และพบว่าเจ้าหน้าที่ของเจ. พี. มอร์แกนแอนด์โค. ยังเป็นคณะกรรมการบริหารของบริษัท 112 บริษัทที่มีมูลค่าตามราคาตลาด 22,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (มูลคารวมของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กประมาณการไว้ 26,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเวลานั้น)[71]

แม้สุขภาพทรุดโทรม แต่เจ. พี. มอร์แกนให้การต่อคณะกรรมการพูโจและเผชิญการตอบคำถามจากซามูเอล อันเทอร์ไมเออร์ (Samuel Untermyer) หลายวัน การถามตอบของอันเทอร์ไมเออร์กับมอร์แกนเรื่องธรรมชาติจิตวิทยามูลฐานของการธนาคาร ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นจากความเชื่อมั่น มักถูกยกมาในบทความธุรกิจ[72][73]

อันเทอรฺไมเออร์: เครดิตพาณิชย์มิได้ยึดบนเงินหรือทรัพย์สินเป็นหลักมิใช่หรือมอร์แกน: ไม่ครับ สิ่งแรกคืออุปนิสัย (character)อันเทอรฺไมเออร์: มาก่อนเงินหรือทรัพย์สินหรือมอร์แกน: ก่อนเงินหรืออะไรอื่น เงินไม่สามารถซื้อได้ ... คนที่ผมไม่เชื่อมั่นไม่สามารถเอาเงินจากผมได้ในทุกพันธบัตรในหมู่คริสเตียน[72]

ผู้ช่วยของมอร์แกนโทษว่าร่างกายของเขาทรุดโทรมลงอย่างต่อเนื่องจากการไต่สวนนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์เขาป่วยหนักและเสียชีวิตในวันที่ 31 มีนาคม 1913 เก้าเดือนหลัง "การรวมกันผูกขาดเงิน" จะถูกระบบธนาคารกลางเป็นผู้ให้กู้รายสุดท้ายแทน[72]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907 http://books.google.com/?id=7hkYAAAAMAAJ http://books.google.com/?id=R3koAAAAYAAJ http://www.saffo.com/pdfs/HIghTech_Quake2.pdf http://people.ischool.berkeley.edu/~bigyale/fin_me... http://digital.library.pitt.edu/cgi-bin/chronology... http://www.archive.org/download/sixtyfirstsecon00c... //doi.org/10.1016%2Fj.jmoneco.2005.05.015 //doi.org/10.1017%2FS0022050700011414 //doi.org/10.1017%2FS0022050700021756 //doi.org/10.1017%2FS0022050700033957